ประวัติขนมไทย

0

ประวัติขนมไทย มีมาร่วมหลายร้อยปี ผ่านยุกต์ผ่านสมัยของประวัติศาสตร์ชนชาติไทยจวบปัจจุบัน ขนมไทยสะท้อนวิถีวัฒนะธรรม การกิน การอยู่ ของชนชาติไทยในแต่ละยุกต์

Advertisements

ตามถนนหนทาง ตรอก ซอก ซอย ตลาดสด หรือแม้ในห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ก็ตาม ภาพคุ้นๆ สายตากับร้านขายขนมไทยหลากหลายชนิด หน้าตาสวยๆ หลากสีสัน รสชาติอร่อยๆ มีให้นักชิมได้เลือกซื้อเลือกหารับประทานอยู่เนืองนิจ ขนมไทยใช่ว่าจะเพียงจะกระตุ้นต่อมรับรสให้รับรู้ถึงความอร่อยที่ได้รับเท่านั้น แต่ยังสะท้องถึงความประณีตละเอียดลออของคนไทยอันมีมากันตั้งแต่ในอดีตจวบจนปัจจุบันในการสร้างสรรค์ประดิดประดอยเมนูขนมต่างๆ ออกมามากมาย ประวัติขนมไทยผ่านควบคู่มากับประวัติศาสตร์ของชนชาวไทย สะท้อนให้เห็นถึงวิถีวัฒนธรรม การกิน การอยู่ ของคนไทยอันมีมาตั้งแต่อดีตจวบจนสู่ปัจจุบัน

ผ่านประวัติศาสตร์มาร่วมหลายร้อยปี มีหลักหลักฐานข้อมูลบ่งชี้ให้เห็นว่าคนไทยนิยมชมชอบทานขนมกันมาช้านานแล้ว ในสมัยกรุงสุโขทัย (1781-1893) ได้มีการพูดถึงขนมไทยบางชนิดบ้างดังมีปรากฎในงานวรรณคดี “ไตรภูมพระร่วง” ขนมไทยนี่เริ่มได้รับความนิยมชมชอบกันอย่างแพร่หลายจริงๆ นี่ก็ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (1893-2310) ดังมีบันทึกทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึง ตลาดขนม ในขณะที่บางบันทึกได้พูดถึง บ้านหม้อ ซึ่งเป็นแหล่งผลิต หม้อดิน กระทะ เตา และอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับทำขนมเอาไว้อีกด้วย

พูดถึงขนมไทยนี่ หลักๆ ส่วนผสม ก็จะใช้พวก แป้ง มะพร้าว กะทิ รองๆ ลงไป ก็จะเป็นพวก ผัก และผลไม้ เนื่องจากพื้นที่โดยส่วนใหญ่ของ ประเทศจะใช้ทำการเกษตรกันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เรามีวัตถุดิบธรรมชาติๆ สำหรับใช้ทำขนมจึงมีอยู่มากมายสามารถหาเลือกหามาใช้กันได้อย่างง่ายดาย นี่เป็นสาเหตุที่ว่าทำไมขนมไทยจึงมีถูกคิดสร้างสรรค์กันขึ้นมาอย่างหลากหลายมากมายชนิดจริงๆ

ท้าวทองกีบม้า ผู้พลิกประวัติศาสตร์ขนมไทย

บุคคลที่นับได้ว่ามีบทบาทต่อประวัติขนมไทยมากก็คือ มารี กีมาร์ เดอ ปีนา (Marie Guimar De Pinha) หรือ ตองกีมาร์ (Tanguimar) หรือที่ชาวสยามรู้จักกันดีในนาม ท้าวทองกีบม้า นั่นเอง (เข้าใจว่า ชื่อตำแหน่ง ท้าวทองกีบม้า น่าจะเพี้ยนมาจากชื่อ ตองกีมาร์ นั่นเอง) ท้าวทองกีบม้ามีมารดาเป็นลูกครึ่ง ญี่ปุ่น-โปรตุเกส  และบิดาเป็นชาวเบงกอล มีชีวิตอาศัยอยู่ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาถึง 4 รัชสมัยด้วยกันคือสมัย พระนารายมหาราชย์ สมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระเจ้าเสือ และ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ท้าวทองกลีบม้าได้แต่งงานเมื่ออายุ 16 ปีกับ คอนแสตนติน ฟอลคอล (Constantine Phaulkon) ชาวกรีกซึ่งได้เข้ารับราชการในแผ่นดินของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในตำแหน่ง เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ต่อมาสามีของท้าวทองกีบม้าถูกจับข้อหากบฏ ถูกเรียกตำแหน่งคืน ริบทรัพย์สิน และถูกประหารชีวิต ช่วงนี้ชีวิตของท้าวทองกีบม้าตกระกรำลำบากมาก ถูกส่งตัวเข้าไปเป็นคนรับใช้ในวัง มีหน้าที่ทำอาหารประเภทต่างๆ ส่งเข้าไปในวังตามที่กำหนด จนกระทั่งถึงรัชสมัยการครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ พระองค์เป็นผู้ทรงรู้ถึงคุณค่าและความสามารถของท้าวทองกีบม้าในด้านการทำข้าวปลาอาหาร พระองค์ทรงพระราชทานตำแหน่ง หัวหน้าห้องเครื่องต้น ให้แก่ท้าวทองกลีบม้า มีข้าราชบริพารเป็นหญิงไทยรับใช้ถึง 2,000 คนด้วยกัน นี่เองเป็นการพลิกประวัตศาสตร์วงการขนมไทยเลยทีเดียว ท้าวทองกีบม้าได้ถ่ายทอดศาสตร์แห่งศิลป์ในการทำอาหารแก่ข้าราชบริพารหญิงไทย ท้าวทองกีบม้าได้สร้างสรรค์ขนมไทยเมนูใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย โดยดัดแปลงมาจากเมนูขนมของชาวโปรตุเกส และเลือกใช้วัตถุดิบที่หาได้ในสยามทดแทน หลักๆ ก็เป็นพวก แป้ง มะพร้าว กะทิ และน้ำตาล จนได้ขนมใหม่ที่มีรสชาติอร่อยๆ มากมาย นอกจากนี้ท้าวทองได้นำวิธีการทำขนมแบบโปรตุเกสที่ใช้ ไข่แดง และน้ำตาลเป็นส่วนผสมหลักๆ สร้างสรรค์เมนูขนมไทยอร่อยๆ อย่างเช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง หม้อแกง สังขยา ฯลฯ ซึ่งขนมเหล่านี้ก็ยังคงได้รับความนิยมกันมาถึงปัจจุบัน

Advertisements
1 2
Share.

Leave A Reply