ประวัติขนมไทย

0

ประวัติขนมไทย กับวิถีชีวิตคนไทย

ดังที่กล่าวข้างต้นมาแล้วว่า ปัจจุบันไม่เป็นการยากนักที่จะหาซื้อขนมไทยอร่อยๆ มาทานกัน แต่นี่ช่างต่างจากในอดีตกาลอย่างสิ้นเชิง เชื่อไหมว่าในอดีตนี่เราจะทำขนมกันเฉพาะในช่วง โอกาสสำคัญๆ หรือในงานเทศกาลสำคัญๆ เท่านั้น ขนมบางอย่างจะทำกันเพียงปีละหนในแต่ละเทศกาลสำคัญๆ เท่านั้นเช่น ข้าวเหนียวแดง และขนมกาละแม จะทำกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือปีใหม่ของคนไทยเรานั่นเอง ขนมทั้งสองนี่ต้องใช้เวลาและกำลังคนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกาละแมนี่จะต้องใช้เวลานานในการกวนแป้งกับส่วนผสมอื่นจนกระทั่งหนืดข้นได้ที่ ผู้คนซึ่งอาจจะเป็นบุคคลในหมู่บ้านเดียวกันหรืออาจจะเป็นต่างหมูบ้าน ต่างมาร่วมกันเตรียมขนมในปริมาณมากๆ นี่เป็นโอกาสอันดีที่บุคคลเหล่านี้ได้สร้างสานสัมพันธ์อันดี สร้างสามัคคีรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ขนมกาละแม ข้าวเหนียวแดง หรือจะเรียกว่าขนมแห่งความกลมเกลียวเหล่านี้ จะถูกนำไปถวายพระที่วัด แต่อย่างไรก็ตามประเพณีนี้ดูเหมือนจะค่อยๆ เลือนรางหายไปในปัจจุบัน

Advertisements

การตักบาตรเทโว งานประเพณีอันเก่าแก่ของไทยในวันออกพรรษา ซึ่งเป็นวันแรกหลังจากพระภิกษุสิ้นสุดการจำพรรษาในตลอดระยะเวลา 3 เดือน เป็นวันเฉลิมฉลองที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนาที่ชั้นดาวดึงส์ ในช่วงเช้าตรู่พระสงฆ์หลายร้อยรูปจะเข้าแถวรับบาตร ญาติโยมจะตักบาตรด้วย ข้าวสาร อาหารแห้ง  เมนูพิเศษๆ ที่นิยมใส่บาตรในเทศกาลนี้ก็คือ ข้าวต้มลูกโยน  ซึ่งทำจาก ข้าวเหนียว กะทิ และน้ำตาล ห่อด้วยใบมะพร้าว สาเหตุที่เรานิยมถวายข้าวต้มลูกโยนก็เพื่อให้พระสงฆ์มีความสะดวกในการหิ้วพกพาเดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนายังสถานที่ต่างๆ

ในโอกาสงานมงคลต่างๆ เช่น งานทำบุญเลี้ยงพระ ขึ้นบ้านใหม่  ฯลฯ เจ้าบ้านจะนิมนต์พระมาที่บ้านเพื่อ สวดมนต์ ให้ศิลป์ ให้พร และเจ้าบ้านจะถวายเพลแต่พระสงฆ์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย ข้าวปลาอาหาร ผลไม้ และขนมต่างๆ คนไทยมีความเชื่อกันมาตั้งแต่โบราณว่า ขนมเป็นอาหารจานพิเศษสำหรับบุคคลที่นับถือ ขนมเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพและความรัก มีขนมหลายชนิดที่นิยมทำกันในงานพิธีมงคลต่างๆ ซึ่งมักจะมีชื่อสื่อความหมายในทางที่ดี โดยเฉพาะขนมที่มีชื่อขึ้นต้นด้วย “ทอง” เช่น ทองหยิบ ทองหยอด และทองเอก เพราะคนไทยเชื่อว่าทองจะนำพาโชคลาภมาสู่ตนเอง ทองเป็นสัญลักษณ์แห่งลาภยศเงินทองและชื่อเสียง ขนมตาลจะสื่อถึงชีวิตที่สดใสราบรื่น

“ขนมสามเกลอ” เป็นขนมที่นิยมทำกันในงานแต่งงาน หลักๆ ก็ทำจากแป้งปั้นเป็นลูกกลมๆ 3 ลูกติดกัน จากนั้นจึงนำไปทอดในน้ำมัน คนไทยในอดีตนี่จะใช้ขนมสามเกลอเป็นตัวทำนายชีวิตคู่ของคู่บ่าวสาวภายหลังจากการแต่งงาน หากหลังจากการทอดขนมสามเกลอแล้วขนมทุ้ง 3 ลูกยังเชื่อมติดกันอยู่ อันนี้จะให้ความหมายว่าคู่บ่าวสาวนี้จะมีชีวิตแต่งงานที่ราบรื่น หากภายหลังการทอดมีลูกบอลลูกใดลูกหนึ่งหลุดไปจากกลุ่ม อันนี้สื่อความหมายว่าชีวิตคู่ขอคู่บ่าวสาวจะไม่มีบุตรสืบเชื้อสาย แต่หากขนมทั้ง 3 ลูกแยกจากกันหมดเลยละก็ ชีวิตคู่ของคู่บ่าวสาวดูจะดูจะไม่ราบรื่นนัก

ในอดีตขนมอาจจะใช้เป็นสิ่งสำหรับมอบให้กันและกันเพื่อแสดง ความกตัญญู ความคารพนับถือ และความปีติยินดีให้แก่ผู้รับ ขนมจ่ามงกุฎซึ่งมีลักษณะคล้ายมงกุฎสีเหลือง หลักๆ ใช้ ไข่แดง และน้ำตาลเป็นส่วนผสมในการทำ เนื่องจากคำว่า “จ่ามงกุฎ” มีความหมายค่อนข้างดี “จ่า” มีความหมายถึงหัวหน้า “มงกุฎ” เป็นสิ่งมีค่า ดังนั้นขนมจ่ามงกุฎจึงนิยมใช้เป็นของขวัญให้กับผู้ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ขนมลูกชุบที่มีรูปร่างเป็น ผัก ผลไม้ สัตว์ ต่างๆ สีสดใส น่ารักๆ มักจะเป็นขนมที่ ผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีอาวุโสกว่า มอบให้แก่ผู้น้อยหรือผู้เยาว์กว่าเพื่อแสดงความรักความเอ็นดูแก่ผู้รับ

กับประวัติขนมไทย วันเวลาผ่านไป ประเพณีบางอย่างได้เลือนรางหายไปจากสังคมไทยไปบ้าง แต่ขนมไทยทุกชนิดก็ยังอยู่คู่กับสังคมไทยไม่ลืมเลือน ด้วยรสชาติอันมีเสน่ห์ยังตรึงติดในลิ้นของผู้รับประทานเสมอๆ นี่เองเป็นเหตุผลที่ว่าขนมไทยไม่เคยตายหายจากไปจากสังคมไทย

Advertisements
1 2
Share.

Leave A Reply