กระเทียม พืชกลิ่นฉุนรสฝาดหลากสรรพคุณอยู่คู่ครัวไทยมานาน ไม่ใช่เฉพาะกระเทียมจะเป็นส่วนประกอบเมนูอาหารไทยแทบทุกเมนู กระเทียมยังใช้เป็นยารักษาโรคกันมาตั้งแต่โบราณ
อาหารไทยไม่ว่าจะ ต้ม ผัด แกง ทอด ปิ้งย่าง ล้วนๆ ก็แต่ได้กระเทียมพืชเครื่องเทศกลิ่นฉุนๆ มีรสออกฝาดๆ อัดแน่นไปด้วยสารอาหารที่มีสรรพคุณดีๆ ต่อสุขภาพเป็นส่วนประกอบช่วยเพิ่มกลิ่นรสชาติดีๆ แทบทุกเมนู พืชมหัศจรรย์อย่างกระเทียมนี่ยังมีคุณสมบัติเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ป้องกันและรักษาโรคต่างๆ กันมาตั้งแต่โบราณกาล
กระเทียมเป็นพืชที่เต็มไปด้วยสารประกอบซัลเฟอร์อยู่หลายชนิด นี่เองเป็นสาเหตุว่าทำไมกระเทียมจึงมีกลิ่นค่อนข้างฉุน แอลลิซิน (Allicin) หนึ่งในสารประกอบที่สำคัญๆ มิฤทธิ์ค่อนข้างดีในการยับยั้ง เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา และยังมีคุณสมบัติในการยั้งปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นได้ดีอีกด้วย สารประกอบอื่นๆ ที่สำคัญๆ ที่พบในกระเทียมอย่างเช่น Selenium, Ajoene, Alliin ฯลฯ พบว่าล้วนมีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพ การไหลเวียนของโลหิต, การย่อยอาหาร, การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน, ควบคุมความดัน, การกำจัดพิษออกจากร่างกาย ฯลฯ
เอาเป็นว่ากระเทียมมีสรรพคุณดีๆ อะไรบ้างมาดูกัน
ช่วยเสริมสร้างภูมคุ้มกัน
เชื่อกันว่ากระเทียมมีสรรพคุณช่วยในการเสริมสร้างภูมิให้กับร่างกายโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอย่าง อาการไอ โรคหวัด และโรคไข้หวัดใหญ่ ในการรักษาแบบแผนโบราณหากเริ่มส่อเค้ามีอาการเป็นหวัดนิยมให้รับประทานกระเทียมกลีบชุบด้วยน้ำผึ้งกัน
รักษาอาการต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
กระเทียมมีสารไอโอดีน (Iodine) ในปริมาณค่อนข้างสูง กระเทียมจึงมีสรรพคุณในการใช้รักษาอาการต่อมไทรอยด์เป็นพิษได้ค่อนข้างดี มีผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากระเทียมสามารถใช้รักอาการสภาวะต่อมไทรอยด์ได้ค่อนข้างดี
รักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน
เนื่องจากในกระเทียมอุดมไปด้วยไวตามินซี (Vitamin C) เชื่อกันว่าไวตามินซีมีสรรพคุณสามารถใช้รักษาอาการเลือดออกตามไรฟันได้ดีทีเดียว
ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
มีผลงานการศึกษาเชื่อกันว่าการบริโภคกระเทียมอยู่เป็นประจำๆ จะมีส่วนช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลชนิด LDL (LDL Cholesterol) และช่วยระดับการก่อตัวของคราบในผนังเส้นเลือด ดังนั้นกระเทียมจึงมีสรรพคุณในการช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส
กระเทียมมีสรรพคุณในการยังยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส เมื่อกระเทียมถูกบดจะปล่อยสารแอลลิซิน (Allicin) ออกมา ซึ่งเป็นสารประกอบซัลเฟอริค (Sulphuric Compound) ที่จัดเป็นยาปฏิชีวนะตามธรรมชาติ กระเทียมมีฤทธิ์ช่วยป้องกันการติดเชื้อจาก เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา และยีสต์
ควบคุมระดับน้ำตาล
เชื่อว่าการทานกระเทียมมีส่วนช่วยเพิ่มระดับอินซูลิน (Insulin) ในกระแสเลือด ดังนั้นจึงเชื่อว่ากระเทียมจึงมีสรรพคุณในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายด้วยเช่นกัน
ป้องกันโรคมะเร็ง
กระเทียมมีสรรพคุณในการช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้หลายชนิดเช่น มะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งในกระเพาะอาหาร เชื่อว่าไวตามินบี6 (Vitamin B6) ซึ่งพบมากในกระเทียมมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งเหล่านี้
เป็นแหล่งของไวตามินบี6
กระเทียมเต็มไปด้วยไวตามินบี6 (Vitamin B6) ซึ่งจำเป็นต่อการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน มีส่วนช่วยให้การเจริญเติบโตของเซลใหม่ๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไวตามินบี6 ยังมีส่วนช่วยควบคุมอารมณ์ขุ่นมัวทำให้รู้สึกมีความสุข
ช่วยในกระบวนการเผาผลาญธาตุเหล็ก
เฟอรโรพอร์ติน (Ferroportin) เป็นโปรตีนซึ่งมีส่วนช่วยในการดูดกลืนและปลดปล่อยธาตุเหล็ก (Iron) ไดแอลลิลซัลไฟด์ (Diallyl Sulphide) ซึ่งพบในกระเทียมมีส่วนช่วยในการผลิตสารเฟอโรพอร์ตินจึงมีส่วนช่วยในกระบวนเผาผลาญธาตุเหล็ก
ใช่ว่าเห็นว่ากระเทียมมีสรรพคุณดีๆ ป้องกันหรือรักษาโรคได้สารพัดและจะพากันหันไปบริโภคกระเทียมกันอย่างหนัก ทุกอย่างควรอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง เช่นกันการทานกระเทียมในปริมาณมากเกินไปก็ย่อมส่งผลไม่ดีต่อร่างกายเช่นกัน สารออกฤทธิ์ต่างๆ จากกระเทียมมักไหลเวียนไปตามกระแสเลือดและส่งผลต่างๆ ออกมา หากทานกระเทียมเข้าไปมากเกินไปกระเทียมมักจะถูกกำจัดออกไปจากร่างกายผ่านทางเหงื่อ หลายๆ คนที่ทานกระเทียมในปริมาณมากมักจะมีกลิ่นตัวค่อนข้างแรงเช่นกัน