มาทาน อาหารป้องกันมะเร็งปอด กันดีไหม?

0

เชื่อไหมว่า อาหาร หากเราเลือกทานดีๆ โดยเฉพาะอาหารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมีสรรพคุณในการต้าน มะเร็งปอดได้ แหละการออกกำลังกายสม่ำเสมอก็มีส่วนช่วยป้องกันได้อีกทาง?

Advertisements

คงจะพอทราบกันดีอยู่แล้วว่า มะเร็งปอด มักจะเกิดขึ้นกับผู้นิยมการสูบบุหรี่ ไหนเลยการสูบบุหรี่จะทำให้ ถุงลมโป่งพอง ปอดถูกทำลายอยู่วันละเล็กละน้อยจนเกิดเป็นโรคมะเร็งปอด แต่ผู้สูบบุหรี่ก็ยังนิยมเสพในควันของบุหรี่อยู่เสมอๆ คำที่มักจะนำมากล่าวอ้างก็คือ แก้เครียดบ้างล่ะ วัยรุ่นอาจจะคิดว่าเท่บ้างล่ะ ไหนเลยคนที่ไม่สูบบุหรี่บางครั้งอาจจะต้องมาทนรับเอาควันบุหรี่ที่ตนเองไม่ได้ก่อแต่ก็จำเป็นต้องสูดอยู่เนืองๆ ไหนสภาวะสังคมปัจจุบันที่จะต้องสูดดมควันมลพิษจาก ไอเสียรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม ควันจากไฟป่า ฯลฯ ที่เกริ่นๆ มานี่ก็เพราะวันนี้ได้ไปเจอผลงานการวิจัยเรื่อง การเลือกรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปอด เนื้อหาก็ดูๆ น่าสนใจมากทีเดียว ไว้ใช้เป็นไอเดีย ในการเลือกรับประทานอาหาร การปฏิบัติตัว เพื่อให้ชีวิตของเราห่างๆ จากโรคมะเร็งปอดในสภาวะที่คนอย่างเราๆ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดได้

เลือกทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคโรทีนนอยด์ (Carotenoid-rich foods)

แคโรทีนนอยด์ จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นมิตรกับดีเอ็นเอ (DNA-Friendly Antioxidants) พืช ผัก ผลไม้ จำพวก แครอท พริกหยวกสีแดง พริกหยวกสีเขียว มันฝรั่ง ฟักทอง มะม่วง เอไพรคอท (Apricot) แคนตาลูป ลูกพีช และผักสีเขียวต่างๆ มีสารอาหารประเภท เบต้าแคโรทีน (Beta Carotene) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของ ไวตามินเอ (Vitamin A) จัดเป็นสารประเภทแคโรทีนนอยด์ที่มีส่วนช่วยป้องกันเราจากโรคมะเร็งปอดได้อย่างดี แต่อย่างไรก็ตามเฉพาะเบต้าแคโรทีนที่ได้จากอาหารธรรมชาติเท่านั้นที่ได้รับการยืนยันว่ามีส่วนช่วยในการป้องกันโรงมะเร็งปอดได้ดี มีรายงานผลการศึกษาวิจัยในปี พ.ศ. 2537 พบว่าหากเราเพิ่มอาหารเสริมเม็ดที่มีเบต้าแคโรทีนให้กับผู้สูบบุหรี่ทั้งหลาย มันกลับเป็นการเพิ่มอัตราการป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดไปเสียอีก แต่ในทางกลับกัน หากให้ผู้สูบบุหรี่รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนจากแหล่งอาหารธรรมชาติกลับจะช่วยลดอัตรการเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งปอดได้ดียิ่งขึ้น สารอีกตัวก็คือ ไลโคปีน (Lycopene) ก็จัดเป็นสารประเภทแคโรทีนนอยด์ชนิดหนึ่งที่ส่วนป้องกันมะเร็งปอดได้ดีเช่นกัน และก็ยังพบอีกว่าไลโคปีนยังมีส่วนช่วยในการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้ดีอีกด้วย สำหรับ พืช ผัก ผลไม้ ที่อุดมไปด้วยไลโคปีนก็ได้แก่ มะเขือเทศ มันฝรั่ง แตงกวา แตงโม ส้มโอ ฯลฯ

ทานพืชตระกูลกะหล่ำในหนึ่งมื้ออาหารในแต่ละวัน

พืชตระกูลกะหล่ำเช่น บรอคโคลี่ กะหล่ำปลี คะน้า วอเตอร์เครส (Watercress) ฯลฯ จะมีสารจำพวก ไฟโตเคมิคอล ที่เรียกว่า ไอโซไธโอไซยาเนต (Isothiocyanate) ซึ่งมีฤทธิ์ในการบล็อกเอ็นไซม์ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นสารก่อเกิดมะเร็งจากควันบุหรี่ ดังนั้นคงจะเป็นการดีที่อาหารของเราควรประกอบด้วยพืชตระกูลกะหล่ำอย่างน้อยในหนึ่งมื้ออาหารในแต่ละวัน

เลือกทานอาหารที่มีเซลีเนียม (Selenium)

มีผลการศึกษาบ่งชี้ให้เห็นว่า อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของ เซเลเนียม (Selenium) มีส่วนช่วยในการลดการเป็นโรคมะเร็งปอด แต่อย่างไรก็ตามคุณประโยชน์ที่ได้จากอาหารเสริมที่มีเซเลเนียมยังคงต้องการศึกษาจากจำนวนประชากรในการวิจัยที่มากกว่านี้ สำหรับแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยเซเลเนียมได้แก่ ถั่วบราซิล, เมล็ดธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี (Whole Grains) และปลาทูน่า

อาหารที่อุดมไปด้วย ไวตามินอี (Vitamin E)

อาหารที่อุดมไปด้วย ไวตามินอี เช่น อาหารจำพวกถั่ว (เช่น อัลมอนด์, วอลนัท, เมล็ดทานตะวัน ฯลฯ), อะโวคาโด, มะม่วง, จมูกข้าวสาลี ฯลฯ ไวตามินอี หรือ โทโคฟีรอล (Tocopherol) เป็น สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยคงความสมบูรณ์ของปอด ผลการศึกษาพบว่าการทานอาหารที่อุดมไปด้วยไวตามินอีมีส่วนช่วยในการลดการเกิดโรคมะเร็งในผู้สูบบุหรี่ได้สูงถึง 20 % เลยทีเดียว

ควบคุมปริมาณการบริโภคไขมัน

ควบคุมปริมาณการบริโภคไขมันของคุณ โดยเฉพาะพวกไขมันจำพวก ไขมันอิ่มตัว (Saturated Fat) ที่พบกันมากในเนื้อแดงและนมที่มีไขมันสูง มีผลการศึกษาแสดงให้เห็นความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างปริมาณการบริโภคไขมัจากสัตว์และการเกิดโรคมะเร็งปอด เราควรพยายามหันมาทานไขมันจากปลาเนื่องจากอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 (Omega-3) ซึ่งจัดเป็นไขมันที่ดีมีส่วนช่วยต้านไขมันอิ่มตัวได้ดี แหล่งของกรดไขมันโอเมก้า-3 ก็ได้แก่ ปลาแซลมอน, แมคคาเรล, ปลาทูน่า, ถั่ว ฯลฯ

รับประทาน ไวตามินซี (Vitamin C) ให้เพียงพอ

ผลไม้จำพวกส้มจัดเป็นแหล่งของ ไวตามินซี และ กระดโฟลิค (Folic Acid) ซึ่งสารอาหารทั้งสองชนิดนี้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งปอดเช่นกัน แหล่งอาหารอื่นๆ ที่มีไวตามินซีก็ได้แก่ กีวี มันฝรั่ง พริกหยวก, หน่อไม้ฝรั่ง, บรอคโคลี่ ส่วนถั่วจัดเป็นอาหารที่ให้กรดโฟลิกสูง

มาทำร่างกายให้แข็งแรงกันเถอะ

มากกว่าสองทศวรรษแล้วที่เราพบว่า การออกกำลังกายกันอย่างสม่ำเสมอมีส่วนในการช่วยป้องกันโรคมะเร็ง มีผลการศึกษาพบว่าผู้ชายที่ร่างกายที่ แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีแนวโน้มที่จะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดที่น้อยกว่า นักวิจัยยังแนะนำอีกว่าว่าสภาพร่างกายที่แข็งแรงจะช่วยป้องกันปอดของเราจากการถูกทำลายด้วยควันบุหรี่และปัจจัยอื่นๆ การไม่ออกกำลังกายเลยยังอาจจะเป็นปัจจัยทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดได้

ในขณะที่นักวิจัยกำลังค้นคว้าเรื่องบทบาทของการบริโภคอาหารที่มีผลต่อโรคมะเร็งปอด แต่สิ่งที่ดีที่สุดที่อยากจะแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการจะลดสภาวะเสี่ยงจากโรคมะเร็งปอดก็คือการไม่สูบบุหรี่เลย ในขณะที่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เองก็ควรจะเลือกรับประทาน อาหารที่มีไขมันต่ำ ผลไม้และผักหลากสี เมล็ดธัญพืชไม่ขัดสี และที่สำคัญก็คือการหันมาออกกำลังกายกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ

Advertisements
Share.

Leave A Reply