อาหารประเภทโปรตีนกับผู้สูงอายุ

0

ผู้สูงอายุต้องการอาหารประเภทโปรตีนประมาณ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1กิโลกรัมในแต่ละวัน เพื่อใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย แต่ทำไมผู้สูงอายุจึงมักอยู่ในสภาวะขาดโปรตีน?

Advertisements

คนเรายิ่งสูงอายุขึ้น ต่อมรับรสก็ทำงานมีประสิทธิภาพน้อยลงๆ ทุกวันๆ สุขภาพเหงือกและฟันก็แย่ลงๆ ทุกวันๆ นี่กระมังที่เป็นสาเหตุทำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้น้อยลงไม่ค่อยเจริญอาหารเหมือนเมื่อครั้งยังหนุ่มยังสาว ก็เลยทำให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารต่างๆ น้อยลงตามไปด้วย การทำงานและการซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ ของร่างกายก็เลยบกพร่อง ร่างกายก็สามารถสร้างน้ำย่อยอาหารได้น้อยลง อาหารที่ทานเข้าไปบางส่วนก็ย่อยได้ไม่ดี ก็เลยทำให้ผู้สูงอายุเกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อเข้าไปเสียอีก ก็เลยพาลทำให้ผู้สูงอายุเลือกรับประทานแต่อาหารที่ค่อนข้างอ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย ซึ่งก็มักจะเป็นอาหารกลุ่มที่ให้แป้งเป็นหลักๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่ เคี้ยวยาก ย่อยยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารอย่างพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญๆ ที่ให้โปรตีน ไวตามิน และสารอาหารสำคัญต่างๆ ก็เลยพลอยทำให้ผู้สูงอายุมักอยู่ในสภาวะขาดสารอาหารยิ่งเข้าไปเสียอีก

โดยปกติผู้สูงอายุต้องการอาหารประเภทโปรตีนวันละประมาณ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เพื่อใช้ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอๆ ต่างๆ ของร่างกาย แหล่งอาหารสำคัญๆ ที่ให้โปรตีนแก่ร่างกายคือ เนื้อสัตว์ต่างๆ นม ไข่ และเมล็ดถั่วชนิดต่างๆ

เนื้อ

เนื้อสัตว์ไม่ว่าจะเป็น หมู เป็ด ไก่ วัว ปลา ฯลฯ ก็ล้วนๆ เป็นแหล่งให้โปรตีนที่สำคัญๆ แก่ผู้สูงอายุทั้งสิ้น แต่ก้อย่างที่ทราบ ด้วยปัญหาการกัดเคี้ยวและการย่อยอาหารในผู้สูงอายุมักจะไม่ค่อยดีนัก ผู้สูงอายุก็เลยพลอยมักจะหลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์เข้าไปเสียอีก เรามีวิธีทำให้ผู้สูงอายุหันกลับมาทานเนื้อสัตว์ได้ดังนี้

  • ผู้สูงควรเลือกทานเนื้อสัตว์สัตว์ที่ย่อยง่ายอย่างพวกเนื้อปลา เนื้อปลาจัดเป็นอาหารให้โปรตีนสูงที่เคี้ยวง่ายและย่อยง่ายเหมาะให้ผู้สูงอายุรับประทาน ในเนื้อปลายังมีกรดไขมันมันดีๆ อย่าง กรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งช่วยควบคุมระดับคอเลสโตรอล และยังช่วยป้องกันโรคหัวใจล้มเหลวจากภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันได้ดีอีกด้วย
  • ส่วนเนื้อสัตว์อื่นๆ อย่าง หมู เป็ด ไก่ วัว ฯลฯ ซึ่งค่อนข้างจะย่อยยาก ก็อาจจะใช้วิธีการสับให้ละเอียดๆ หรือเคี่ยวให้เปื่อยๆ เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุเคี้ยวได้ง่ายขึ้น ควรเลือกใช้เนื้อส่วนที่มีปริมาณไขมันแทรกน้อยๆ พวกเนื้อเป็ดและเนื้อไก่ควรเป็นเนื้อปราศจากหนังเนื่องจากในหนังไก่และหนังเป็ดมีไขมันในปริมาณค่อนข้างสูง

นม

น้ำนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำนมจากสัตว์นอกจากจะเป็นแหล่งให้โปรตีนแล้วยังเต็มไปด้วยแคลเซี่ยมซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ดี นอกจากนี้ในน้ำนมจากสัตว์ยังประกอบด้วย ไวตามิน และสารอาหาร ทีสำคัญอย่างมากมายมาย

ผู้สูงอายุควรดื่มนมวันละ 1 แก้ว หากผู้สูงอายุไม่เคยดื่มนมเลยก็ควรเริ่มจากปริมาณน้อยๆ ก่อน เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ปรับตัวสามารถย่อยน้ำนมได้จึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้น หากผู้สูงอายุดื่มนมแล้วมีอาการท้องเสียก็อาจจะต้องหลีกเลี่ยงหันไปดื่มน้ำนมถั่วเหลืองแทน

ไข่

ไข่จัดเป็นอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณสูง นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย ไวตามิน และสารอาหาร ที่สำคัญต่อผู้สูงอายุอยู่หลายชนิด และยังจัดเป็นอาหารที่กัดเคี้ยวและย่อยง่ายสำหรับผู้สูงอายุอีกด้วย

ผู้สูงอายุควรรับประทานไข่วันละ 1 ฟอง หรืออย่างน้อยก็ 3 ฟองต่อสัปดาห์ สำหรับผู้สูงอายุที่ค่อนข้างอ้วนหรือมีระดับไขมันสูงควรเลือกรับประทานเฉพาะไข่ขาว

ถั่ว

ถั่วเมล็ดแห้งก็จัดเป็นอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณสูง และยังเป็นแหล่งให้ ไวตามิน และสารอาหารที่สำคัญอย่างมากมายเช่นกัน แต่ถั่วเมล็ดแห้งเป็นอาหารที่ค่อนข้างแข็ง บดเคี้ยว หรือย่อยค่อนข้างยาก ดังนั้นควรต้มให้สุกอ่อนนุ่มเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุรับประทานง่ายขึ้น หรืออาจจะเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์จากถั่วต่างๆ ทดแทนเช่น น้ำนมถั่วเหลือง เต้าหู้ ขนมนุ่มๆ ที่ทำจากถั่ว ฯลฯ

อย่างไรก็ตามอาจจะมีกรณีที่ผู้สูงอายุอาจจะได้รับอาหารประเภทโปรตีนได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ในกรณีผู้สูงอายุควรได้รับพวกโปรตีนเสริม เพื่อให้ปริมาณโปรตีนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย แต่อย่างไรก็ตามกรณีนี้ผู้สูงอายุควรได้รับคำแนะนำและดูแลจากแพทย์

Advertisements
Share.

Leave A Reply